วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วิชาการสร้างสื่อการเรียนการสอน(Media Production)




เนื้อหาบทเรียน
หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน
กิดานันท์ มลิทอง (2540) กล่าวว่า สื่อนับว่าเป็นสิ่งที่มีบทบาทอย่างมากในการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกับที่ผู้สอนต้องการ การใช้สื่อการสอนนั้นผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาถึงลักษณะเฉพาะ และคุณสมบัติของสื่อแต่ละชนิดเพื่อเลือกสื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์การสอน และสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สื่อการสอน (Instructional Media) หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ แผนภูมิ ภาพนิ่ง ฯลฯ ซึ่งบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้ได้เป็นอย่างดี








อ่านต่อคลิกที่นี่ค่ะ




งานสีไม้









วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2550

เนื้อหาบทเรียนหน่วยที่ 2

จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อการเรียนการสอน
ทฤษฏีการเรียนรู้และจิตวิทยาการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา มีดังนี้
1) ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) เป็นทฤษฎีซึ่งเชื่อว่าจิตวิทยาเป็นเสมือนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของพฤติกรรมมนุษย์ (Scientific Study of Human Behavior) และการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมภายนอก นอกจากนี้ยังมีแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง ( Stimuli and Response ) เชื่อว่าการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของมนุษย์จะเกิดขึ้นควบคู่กันในช่วงเวลาที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นพฤติกรรมแบบแสดงอาการกระทำ (Operant Conditioning) ซึ่งมีการเสริมแรง ( Reinforcement) เป็นตัวการ โดยทฤษฏีพฤติกรรมนิยมนี้จะไม่พูดถึงความนึกคิดภายในของมนุษย์ ความทรงจำ ภาพ ความรู้สึก โดยถือว่าคำเหล่านี้เป็นคำต้องห้าม (Taboo) ซึ่งทฤษฎีนี้ส่งผลต่อการเรียนการสอนที่สำคัญในยุคนั้น ในลักษณะที่การเรียนเป็นชุดของพฤติกรรมซึ่งจะต้องเกิดขึ้นตามลำดับที่แน่ชัด การที่ผู้เรียนจะบรรลุวัตถุประสงค์ได้นั้นจะต้องมีการเรียนตามขั้น ตอนเป็นวัตถุประสงค์ๆ ไป ผลที่ได้จากการเรียนขั้นแรกนี้จะเป็นพื้นฐานของการเรียนในขั้นต่อ ๆ ไป ในที่สุด




อ่านต่อคลิกที่นี่ค่ะ

เนื้อหาบทเรียนหน่วยที่ 3

การสื่อสาร
ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร
การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
อ่านต่อคลิกที่นี่ค่ะ

เนื้อหาบทเรียนหน่วยที่ 4

การออกแบบสื่อการเรียนการสอน
การออกแบบสื่อการสอนการออกแบบสื่อ องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย
วิธีระบบกับการออกแบบสื่อการเรียนการสอน เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกกันว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผล มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข่ ระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การพิจารณาแก้ไขนั้นอาจจะแก้ไขสิ่งที่ป้อนเข้าไปหรือที่ขบวนการก็แล้วแต่เหตุผลที่คิดว่าถูกต้อง แต่ถ้าปรับปรุงแล้วอาจจะได้ผลออกมาไม่เป็นที่พอใจอีกก็ต้องนำผลนั้นมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ ต่อเนื่องกันไป จนเป็นที่พอใจ ฉะนั้นจะเห็นว่าวิธีระบบเป็นขยายการต่อเนื่องและมีลักษณะเช่นเดียวกันวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งของการวิเคราะห์ระบบ ก็คือ บุคคลที่จะทำการวิเคราะห์ระบบนั้น ควรจะเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบมาพิจารณาร่วมกันระบบการการเรียนการสอนระบบการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญๆ คือ
1. เนื้อหาหรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม จะต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน
2. พิจารณาพฤติกรรมพฤติกรรมเบื้องต้นของผู้เรียน คือ ต้องทราบพื้นฐาน ความรู้เดิมของผู้เรียน ก่อนที่จะสอนเนื้อหาต่อไป เพื่อจะได้จัดเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3. ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน และปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ได้ดี
4. การประเมินผล เพื่อตรวจสอบการดำเนินการเรียนการสอน
5. วิเคราะห์ผลและปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบการเรียนการสอน




อ่านต่อคลิกที่นี่ค่ะ

เนื้อหาบทเรียนหน่วยที่ 5

การผลิตสื่อกราฟิก
สื่อกราฟิก หมายถึง การอธิบายด้วยภาพประกอบข้อมูลต่างๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจประเภทของสื่อกราฟิก
1.การออกแบบ สัญลักษณ์ต่างๆ
2.การออกแบบและจัดทำแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ
3.การวาดภาพอวัยวะ และระบบต่างๆของร่างกายมนุษย์ ได้แก่ ระบบกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ เป็นต้น
ความหมายของสี สีแต่ละสีสามารถสร้างอารมณ์ ความรู้สึกหรือสีสันของเนื้อหาได้เป็นอย่างดี ซึ่งถ้าพิจารณาความหมายของสีแต่ละสีตามลักษณะของสีก็พอจะแยกออกได้ดังนี้
สีแดง = ความรัก ความเกลียด โกรธ อันตราย ความกล้าหาญ ความแข็งแรง
สีเหลือง = ความอบอุ่น ความสงบ ความเจริญเต็มที่ (สุก) ความร่าเริง เบิกบานใจ
สีน้ำเงิน = เยือกเย็น ความสงบ ความจริง
สีดำ = ประณีต รวย เป็นงานเป็นการ เงียบเหงา ความตาย
สีเขียว = หนุ่ม อ่อนวัย สดชื่น ความเจริญเติบโต ความซื่อสัตย์
สีขาว = สะอาด ประณีต ความบริสุทธิ์
สีส้ม = พลังงาน ร่าเริง สดใส สนุกสนาน ความมั่งคั่ง
สีม่วง = สูงศักดิ์ ร่ำรวย หรูหรา ความเคร่งขรึม

อ่านต่อคลิกที่นี่ค่ะ

เนื้อหาบทเรียนหน่วยที่ 6

การสร้างสื่อราคาเยา
แนวคิดทางการศึกษา ปัจจุบันมุ่งขยายขอบเขตทรัพยากรการเรียนรู้ออกไปทุกแบบ เช่น สื่อเกี่ยวกับบุคคล อาคาร สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนวิธีการต่าง ๆ ทางการศึกษา เกี่ยวกับวัสดุที่จะใช้เป็นการเรียนการสอนนั้น จึงมิได้จำกัดอยู่เพียง สิ่งที่ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อโดยตรงเท่านั้น แต่วัสดุการสอน หมายถึง วัสดุทุกสิ่งทุกอย่างที่ ครูพึงหามาใช้ ประกอบการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่หามาได้ง่ายในท้องถิ่น ซึ่งครู ผู้สอนส่วนหนึ่งมักมองข้ามไป เมือนึกถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสอนสักเรื่องหนึ่ง ก็มักจะนึกถึงสื่อสำเร็จรูปจำพวกรูปภาพ แผนภูมิ สไลด์ ที่มีผลิตขาย ราคาค่อนข้างสูง
ข้อสนับสนุนการใช้สื่อราคาเยา
1.ความจำเป็นของเศรษฐกิจของชาติ
ในข้อนี้นักศึกษาและครูผู้สอนผู้บริหารการศึกษา ย่อมทราบและตระหนักอยู่แล้วว่า ประเทศของเรากำลังพัฒนา หลาย ๆ ด้าน โดยอย่างยิ่ง การใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการลงทุน เพื่อการพัฒนา ประเทศอุตสาห์กรรมใหม่ ต้องกู้เงินจากต่างประเทศ เป็นจำนวนเงินมหาศาล ในด้านการศึกษามีดโครงการ กู้เงินจากต่างประเทศ เป็นจำนวนไม่น้อย ดังนั้น การพิจารณาจัดหาสื่อหรือเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ จึงควร คำนึงเรื่องการประหยัดไว้ให้มาก


อ่านต่อคลิกที่นี่ค่ะ

เนื้อหาบทเรียนหน่วยที่ 7

การผลิตสื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง เป็นการเรียน แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้
องค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
* เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
* ประเมินการตอบสนองของผู้เรียน ได้แก่ การตัดสินคำตอบ
* ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่ การให้รางวัล หรือ คะแนน
* ให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าในลำดับต่อไป
ข้อเสียของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แม้จะมีประโยชน์มาก อย่างไรก็ย่อมมีข้อเสีย ได้แก่
* การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร ทั้งในด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
* ต้องอาศัยความคิดจากผู้ชำนาญการ หรือผู้เชี่ยวชาญ จำนวนมากในการระดมความคิด
* ใช้เวลาในการพัฒนานาน
* การออกแบบสื่อ กระทำได้ยาก และซับซ้อน


อ่านต่อคลิกที่นี่ค่ะ

เนื้อหาบทเรียนหน่วยที่ 8

การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
บทบาทอาจารย์ นักวัดผล นักเทคโนโลยีการศึกษา และนักศึกษาในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์นั้นต้องอาศัยความร่วมมือและการประสานงานจากบุคคลหลายกลุ่มที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความเข้าใจและร่วมมือที่ดีต่อกันระหว่างกลุ่มบุคคลเหล่านี้ ได้แก่
-อาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นนักวิชาการด้านเนื้อหา เป็นผู้เขียนเนื้อหาสาระของแต่ละรายวิชาที่จะนำมาผลิตเป็นสื่อสิ่งพิมพ์
-นักวัดผลการศึกษา มีบทบาทร่วมกับนักวิชาการด้านเนื้อหาในการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียน ออกแบบประเมินก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน การจัดทำข้อสอบประเภทต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องมือใช้ในการประเมินผลการศึกษา รวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อสอบและการสร้างคลังข้อสอบประจำวิชา
-นักเทคโนโลยีการศึกษา มีบทบาทในการออกแบบภาพประกอบและกราฟฟิคของสื่อสิ่งพิมพ์
-นักศึกษา มีบทบาทที่สำคัญในการเรียนรู้และร่วมทดสอบ ประเมินประสิทธิภาพของสื่อสิ่งพิมพ์ โดยให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สื่อสิ่งพิมพ์



อ่านต่อคลิกที่นี่ค่ะ